SUSTAINABLE INNOVATION & SOCIETY (SIS)

About
SUSTAINABLE INNOVATION & SOCIETY

“English version is under construction”

หลักการและเหตุผล

กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะเวลา 20 ปี เป็นสิ่งสำคัญในการให้ประเทศไทยมีทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลายประการที่เกี่ยวกับงานวิจัย และ SDGs ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย จนนำไปสู่ระบบการวิจัยใหม่ที่เรียกว่า ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) และตามที่ประเทศไทยได้มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศสู่ยุค “ประเทศไทย 4.0” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน เน้นการพัฒนาสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” รัฐบาลได้มีการส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นอย่างมาก  มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ และผลิตงานวิจัย นวัตกรรม และผลงานทางวิชาการ 

ตามที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวสู่โลกแห่งธุรกิจ และเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสนองต่อยุทธศาสตร์ของชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นรวมถึงวิทยาลัยนานาชาติ ได้มีการพัฒนานักวิจัย ก่อตั้งหน่วยงานที่พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงสร้างหลักสูตรและผลิตบัณฑิตที่สามารถใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้แล้ว ในประเด็นทางด้านการวิจัยเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและ SDGs Goals โดยเฉพาะ OKR ของวิทยาลัยนานาชาติในบริบทของ SDGs ข้อ 10 Reduce Inequality, และข้อ 12 Responsible Consumption and Production ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เชื่อมโยงเครือข่ายทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อน SDGs อย่างเต็มศักยภาพ ส่วนในประเด็นทางเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากวิทยาลัยนานาชาติมีภารกิจหลักที่สอดคล้องกับหน่วยธุรกิจระหว่างประเทศค่อนข้างมาก และมีความโดดเด่นด้านการพัฒนาบัณฑิตสู่โลกธุรกิจระหว่างประเทศ สามารถช่วยต่อยอดศักยภาพของมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านการทำธุรกิจระหว่างประเทศได้ 

วิทยาลัยนานาชาติ จึงได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการนำร่องจัดตั้งหน่วยธุรกิจเพื่อสนับสนุนงานวิจัย เพื่อเป็นหน่วยวิจัยและบริการวิชาการชุมชน รวมถึงพัฒนาผู้ประกอบการในภูมิภาคให้ก้าวเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดศักยภาพของมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ความเป็นสากลในสาขาสังคมศาสตร์

ขอบเขตการดําเนินงาน

ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน ส่งเสริมพัฒนาการ บูรณาการความรู้เชิงวิชาการ โดยเฉพาะด้านธุรกิจและธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น อันได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติ และ อุทยานวิทยาศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและหน่วยธุรกิจทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติและระดับนานาชาติ อันจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการให้สนองตอบต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ

กรอบนโยบายการดําเนินงาน

ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน มุ่งส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสู่สากล ดําเนินการภายใต้ขอบเขตเชิงวิชาการโดยใช้องค์ความรู้สาขาธุรกิจอย่างบูรณาการเป็นหลัก และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือสาขาวิชาอื่น เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพของผู้ประกอบการเป็นสําคัญ

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการผ่านองค์ความรู้ด้านธุรกิจ
  2. แสวงหาความร่วมมือทางวิชาการและความร่วมมือด้านวิจัยและการบริการวิชาการระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. นําเสนอองค์ความรู้ด้านการวิจัยและบริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
  4. ให้คำปรึกษาหน่วยงานด้านธุรกิจทุกขนาด
  5. รับผิดชอบจัดทํารายงานข้อมูลพื้นฐาน และผลการดําเนินงานเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

OUR TEAM

1-Asst.Prof. Sirimonbhorn Thipsingh – Project Advisor

Asst.Prof. Sirimonbhorn Thipsingh

PROJECT ADVISOR
chaket

ASST.PROF. CHAVIS KETKAEW

PROJECT ADVISOR
phaninee

ASST. PROF. PHANINEE NARUETHARADHOL

DIRECTOR OF SUSTAINABLE INNOVATION & SOCIETY
sasichak

SASICHAKORN WONGSAICHIA

RESEARCH ASSISTANT
wutthiya

WUTTHIYA A. SRISATHAN

RESEARCH ASSISTANT
sirinapha

SIRINAPHA PHONSIRI

GENERAL ADMINISTRATION OFFICER
Post Views: 433